เมนู

ให้เป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่. เวลาที่พระโยคาวจรถอนกิเลสขึ้นได้ด้วยมัคคญาณ
พึงเห็นเหมือนเวลาที่ผ่าเถาวัลย์. เวลาที่เบญจขันธ์ยังดำรงอยู่ พึงเห็น
เหมือนเวลาทำเถาวัลย์ให้เป็นขี้เถ้า. เวลาที่พระโยคาวจร ดับอุปาทินนกขันธ์
โดยการดับไม่ให้มีปฏิสนธิ แล้วไม่ถือปฏิสนธิในภพใหม่ พึงเห็นเหมือนเวลา
ที่เขาโปรยขี้เถ้าลงไปที่พายุใหญ่ ทำให้ไม่ไห้เกิดอีกฉะนั้นแล. ในพระสูตรนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสทั้งวัฏฏะ และ วิวัฏฏะ.
จบอรรถกถามูลสูตรที่ 9

10. อุโปสถสูตร



ว่าด้วยอุโบสถ 3 อย่าง



[510] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ ณ บุพพาราม
ปราสาทของ (นางวิสาขา) มิคารมารดา กรุงสาวัตถี ครั้งนั้นวันอุโบสถ
นางวิสาขา มิคารมารดา เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ฯลฯ พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้ารับสั่งทักนางวิสาขา มิคารมารดา ผู้นั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่งแล้วว่า
เชิญ วิสาขา มาจากไหนแต่เช้า.
นางกราบทูลว่า วันนี้ข้าพระพุทธเจ้ารักษาอุโบสถ พระพุทธเจ้าข้า.
ตรัสพระธรรมเทศนาว่า วิสาขา อุโบสถ 3 นี้ 3 คืออะไร คือ
โคปาลกอุโบสถ (อุโบสถเยี่ยงโคบาล) นิคัณฐอุโบสถ (อุโบสถเยี่ยง
นิครนถ์) อริยอุโบสถ (อุโบสถเยี่ยงอริยะ).

โคปาลกอุโบสถเป็นอย่างไร. โคบาลมอบโคทั้งหลายให้เจ้าของ
ทั้งหลายในเวลาเย็นแล้ว คำนึงอย่างนี้ว่า วันนี้ โคเที่ยวหากินในที่โน้น ๆ
ดื่มน้ำในที่โน้น ๆ ทีนี้ พรุ่งนี้ โคจักเที่ยวหากินในที่โน้น ๆ จักดื่มน้ำใน
ที่โน้น ๆ ฉันใด คนรักษาอุโบสถบางคนก็ฉันนั้นเหมือนกัน คำนึงไป
อย่างนี้ว่า วันนี้นะ เราเคี้ยวกินขาทนียะสิ่งนี้ ๆ บริโภคโภชนียะสิ่งนี้ ๆ ทีนี้
พรุ่งนี้ เราจักเคี้ยวกินขาทนียะสิ่งนี้ ๆ จักบริโภคโภชนียะสิ่งนี้ ๆ คนรักษา
อุโบสถผู้นั้นมีใจไปกับความอยาก ใช้วันให้หมดไปด้วยความอยากนั้น วิสาขา
โคปาลกอุโบสถเป็นอย่างนี้แล อุโบสถที่รักษาอย่างนี้ เป็นอุโบสถที่ไม่มีผลมาก
ไม่มีอานิสงส์มาก ไม่เรื่องผลมาก ไม่แผ่ผลมาก
นิคัณฐอุโบสถเป็นอย่างไร. มีอยู่ วิสาขา สมณะจำพวกหนึ่งชื่อ
นิครนถ์ เขาสอนสาวกให้ถืออย่างนี้ว่า มา บุรุษผู้เจริญ สัตว์เหล่าใด ใน
ทิศตะวันออก ตะวันตก เหนือ ใต้ อยู่เกินเขต 100 โยชน์ออกไป
สูเจ้าจงลงทัณฑ์ (คือทำร้าย ฆ่า ตี ฯลฯ) ในสัตว์เหล่านั้นได้ เขาสอนให้
เอ็นดูกรุณาสัตว์บางเหล่า ไม่เอ็นดู กรุณาสัตว์บางเหล่าอย่างนี้ ในวันอุโบสถ
เขาสอนสาวกอย่างนี้ว่า มา บุรุษผู้เจริญ สูเจ้าจงเปลื้องผ้าออกให้หมดแล้ว
พูดอย่างนี้ว่า ข้า ฯ ไม่เกี่ยวข้องต่อใคร ๆ ที่ไหน ๆ และความกังวลในสิ่ง
อะไร ๆ ที่ไหน ๆ ก็ไม่มี แต่มารดาบิดาของเขาก็รู้อยู่ว่า นี่บุตรของข้า ฯ
ตัวเขาเองก็รู้อยู่ว่า นี่มารดาบิดาของข้า ฯ อนึ่ง บุตรภริยาของเขาก็รู้ว่า
นี่สามีของข้า เขาก็รู้ว่า นี่บุตรภริยาของข้า. ทาสกรรมกรและคนอาศัยของเขา
ก็รู้ว่า นี่นายของพวกข้า. เขาก็รู้ว่า นี่ทาสกรรมกรและคนอาศัยของข้า.
ด้วยประการนี้ เขาสอนคนอื่นให้ถือความจริงในเวลาใด ก็ชื่อว่าเขาสอน
ให้ถือมุสาวาทในเวลานั้น เรากล่าวการสอนของเขานี้ในฐานมุสาวาท ล่วง
ราตรีนั้นแล้ว เขาชื่อว่าบริโภค (กินอยู่ใช้สอย) โภคะ เป็นอย่างของที่เจ้าของ

ไม่ให้นั่นเอง เรากล่าวการบริโภคของเขานี้ในฐานอทินนาทาน วิสาขา
นิคัณฐอฺโบสถ เป็นอย่างนี้แล อุโบสถที่รักษาอย่างนี้ เป็นอุโบสถที่ไม่มี
ผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก ไม่เรืองผลมาก ไม่แผ่ผลมาก.
อริยอุโบสถเป็นอย่างไร. วิสาขา การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้ว
ย่อมมีได้ด้วยความพยายาม การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วย
ความพยายามอย่างไร. อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ ระลึกถึงตถาคตว่า
อิติปิ โส ภควา ฯ เป ฯ ภควา. เมื่อเธอระลึกถึงตถาคตอยู่ จิตย่อม
ผ่องใส ปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้น อุปกิเลส (เครื่องเศร้าหมอง) แห่งจิตเหล่าใด
มีอยู่ อุปกิเลสเหล่านั้นเธอย่อมละเสียได้ วิสาขา การทำศีรษะที่สกปรกให้
สะอาดย่อมมีได้ด้วยความพยายาม การทำศีรษะที่สกปรกให้สะอาดย่อมมีได้ด้วย
ความพยายามอย่างไร. ใช้ตะกรัน (น้ำผลไม้) ดินเหนียว และน้ำ กับความ
พยายามที่สมกับกิจอันนั้นของตน (ประกอบกัน) การทำศีรษะที่สกปรกให้
สะอาดย่อมมีได้ด้วยความพยายามอย่างนี้ฉันใด การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่อง
แผ้ว ย่อมมีได้ด้วยความพยายาม ฯลฯ อุปกิเลสแห่งจิตเหล่าใดมีอยู่ อุปกิเลสเหล่า
นั้น เธอย่อมละได้ฉันนั้นเหมือนกัน อริยสาวกนี้ ชื่อว่ารักษาพรหมอุโบสถ
(อุโบสถเนื่องด้วยพระพรหม) อยู่ร่วมกับพระพรหม แลจิตของเธอปรารภ
พระพรหม ย่อมผ่องใส ปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้น อุปกิเลสเหล่าใดมีอยู่ อุปกิเลส
เหล่านั้นเธอย่อมละเสียได้ การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความ
พยายามอย่างนี้แล
วิสาขา การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความพยายาม
(อีกทางหนึ่ง) การทำจิต ฯลฯ ด้วยความพยายาม (อีกทางหนึ่ง) อย่างไร.
อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ระลึกถึงพระธรรมว่า สฺวากขาโต ฯ เป ฯ
วิญฺญูหิ
เมื่อเธอระลึกถึงพระธรรมอยู่ จิตย่อมผ่องใส ปราโมทย์ย่อมเกิด

อุปกิเลสแห่งจิตเหล่าใดมีอยู่ อุปกิเลสเหล่านั้นเธอย่อมละเสียได้ วิสาขา
การทำกายที่สกปรกให้สะอาดย่อมมีได้ด้วยความพยายาม การทำกาย ฯลฯ ด้วย
ความพยายามอย่างไร. ใช้ฝุ่นหิน จุณ และน้ำ กับความพยายามที่สมกับกิจ
อันนั้นของตน (ประกอบกัน) การทำกายที่สกปรกให้สะอาดย่อมมีได้ด้วยความ
พยายามอย่างนี้ฉันใด การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความ
พยายาม ฯลฯ อุปกิเลสแห่งจิตเหล่าใดมีอยู่ อุปกิเลสเหล่านั้นเธอย่อมละเสียได้
ฉันนั้นเหมือนกัน อริยสาวกนี้ชื่อว่ารักษาธัมมอุโบสถ (อุโบสถเนื่องด้วย
พระธรรม) อยู่ร่วมกับพระธรรม และจิตของเธอปรารภพระธรรม ย่อมผ่องใส
ปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้น อุปกิเลสแห่งจิตเหล่าใดมีอยู่ อุปกิเลสเหล่านั้นเธอย่อม
ละเสียได้ การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความพยายาม (อีก
ทางหนึ่ง) อย่างนี้แล
วิสาขา การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความพยายาม
(อีกทางหนึ่ง) การทำจิต ฯลฯ ด้วยความพยายาม (อีกทางหนึ่ง) อย่างไร.
อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ระลึกถึงพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มี-
พระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติเป็นธรรม
เป็นผู้ปฏิบัติสมควร นี้คือใคร คู่แห่งบุรุษสี่ บุรุษบุคคลแปด นี่พระสงฆ์
สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ
เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลกไม่มีนาบุญ
อื่นยิ่งกว่า.
เมื่อเธอระลึกถึงพระสงฆ์อยู่ จิตย่อมผ่องใส ปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้น
อุปกิเลสแห่งจิตเหล่าใดมีอยู่ อุปกิเลสเหล่านั้นเธอย่อมละเสียได้ วิสาขา
การทำผ้าที่สกปรกให้สะอาด ย่อมมีได้ด้วยความพยายาม การทำผ้า ฯลฯ
ด้วยความพยายามอย่างไร. ใช้ดินเค็ม ขี้เถ้า โคมัย และน้ำ กับความพยายาม

ที่สมกับกิจอันนั้นของตน (ประกอบกัน) การทำผ้า ฯลฯ ด้วยความพยายาม
อย่างนี้ฉันใด การทำจิต ฯลฯ ด้วยความพยายาม (อีกทางหนึ่ง) ฯลฯ อุปกิเลส
แห่งจิตเหล่าใดมีอยู่ อุปกิเลสเหล่านี้เธอย่อมละเสียได้ฉันนั้นเหมือนกัน
อริยสาวกนี้ ชื่อว่ารักษาสังฆอุโบสถ อยู่ร่วมกับพระสงฆ์ และจิตของเธอ
ปรารภพระสงฆ์ ย่อมผ่องใส ฯลฯ การทำจิต ฯลฯ ด้วยความพยายาม (อีก
ทางหนึ่ง) อย่างนี้แล.
วิสาขา การทำจิต ฯลฯ ด้วยความพยายาม (อีกทางหนึ่ง) การ-
ทำจิต ฯลฯ ด้วยความพยายาม (อีกทางหนึ่ง) อย่างไร. อริยสาวกในพระธรรม
วินัยนี้ระลึกถึงศีลของตน (อขณฺฑ) อันไม่ขาด (อจฺฉิทฺท) ไม่ทะลุ (อสพล)
ไม่ต่าง (อกมฺมาส) ไม่พร้อย (ภุชิสฺส) เป็นไท (วิญฺญุปฺปสฏฺฐ)
ผู้รู้สรรเสริญ (อปรามฏฺฐ) ไม่ถูกปรามาส (สมาธิสํวตฺตนิก) เป็นทางสมาธิ
เมื่อเธอระลึกถึงศีลอยู่ จิตย่อมผ่องใส ปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้น อุปกิเลสแห่งจิต
เหล่าใดมีอยู่ อุปกิเลสเหล่านั้น เธอย่อมละเสียได้ วิสาขา การทำแว่นที่มัว
ให้ใส ย่อมมีได้ความพยายาม การทำแว่น ฯลฯ ด้วยความพยายาม
อย่างไร. ใช้น้ำมัน ขี้เถ้า และแปรง กับความพยายามที่สมกับกิจอันนั้น
ของตน (ประกอบกัน) การทำแว่น ฯลฯ ด้วยความพยายามอย่างนี้ฉันใด
การทำจิต ฯลฯ ด้วยความพยายาม (อีกทางหนึ่ง) ฯลฯ อุปกิเลสเหล่านั้น
เธอย่อมละเสียได้ฉันนั้นเหมือนกัน อริยสาวกนี้ชื่อว่ารักษาศีลอุโบสถ อยู่กับ
ศีล จิตของเธอปรารภศีลย่อมผ่องใส ฯลฯ การทำจิต ฯลฯ ด้วยความพยายาม
(อีกทางหนึ่ง) อย่างนี้แล.
วิสาขา การทำจิต ฯลฯ ด้วยความพยายาม (อีกทางหนึ่ง) การ
ทำจิต ฯลฯ ด้วยความพยายาม (อีกทางหนึ่ง) อย่างไร. อริยสาวกใน
พระธรรมวินัยนี้ระลึกถึงเทวดา (และธรรมที่ทำบุคคลให้เป็นเทวดา) ว่า มีอยู่

เทวดาเหล่าจาตุมหาราชิกา... เหล่าดาวดึงส์... เหล่ายามา... เหล่าดุสิต...
เหล่านิมมานรดี... เหล่าปรนิมมิตวสวัตดี... เหล่าพรหมกายิก... เหล่าที่
สูงขึ้นไปกว่านั้น เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ
ปัญญาเช่นใด จุติจากภพนี้จึงได้เกิดในภพนั้น ๆ ศรัทธา ศีล สุตะ
จาคะ ปัญญาเช่นนั้น ของเราก็มีอยู่พร้อมเหมือนกัน เมื่อเธอระลึกถึง
ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา ของตนกับของเทวดาเหล่านั้น
อยู่ จิตย่อมผ่องใส ปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้น อุปกิเลสแห่งจิตเหล่าใดมีอยู่
อุปกิเลสเหล่านั้นเธอย่อมละเสียได้ วิสาขา การทำทองที่หมองให้ผ่อง ย่อมมี
ได้ด้วยความพยายาม การทำทอง ฯลฯ ด้วยความพยายามอย่างไร ใช้เตา
ดินเค็ม ดินเหลือง* สูบและคีม กับความพยายามที่สมกับกิจอันนั้นของช่าง
(ประกอบกัน) การทำทอง ฯลฯ ด้วยความพยายามอย่างนี้ฉันใด การทำจิต
ฯลฯ อุปกิเลสแห่งจิตเหล่าใดมีอยู่ อุปกิเลสเหล่านั้นเธอย่อมละเสียได้ฉันนั้น
เหมือนกัน อริยสาวกนี้ ชื่อว่ารักษาเทวดาอุโบสถ อยู่กับเทวดา จิตของเธอ
ปรารภเทวดา ย่อมผ่องใส ปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้น อุปกิเลสแห่งจิตเหล่าใด
มีอยู่ อุปกิเลสเหล่านั้นเธอย่อมละเสียได้ การทำจิต ฯลฯ ด้วยความพยายาม
อย่างนี้แล.
วิสาขา อริยสาวกนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นด้วยตนเองอย่างนี้ว่า
พระอรหันต์ทั้งหลาย ละปาณาติบาตแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต วางท่อน
ไม้ วางศรัทธา มีความละอายบาป มีความเอ็นดูเกื้อกูลอนุเคราะห์สรรพสัตว์
อยู่ตลอดชีพ
แม้เราในวันนี้ ก็ละปาณาติบาต เว้นจากปาณาติบาต วางท่อนไม้ วาง
ศัสตรา มีความละอายบาป มีความเอ็นดูเกื้อกูลอนุเคราะห์สรรพสัตว์ตลอดคืน
* เครุ ดินสอแดง ยางไม้ ก็ว่า

และวันนี้ ด้วยองค์นี้ เราได้ชื่อว่าปฏิบัติตามพระอรหันต์ทั้งหลายอย่างหนึ่ง
และอุโบสถก็จักเป็นอันเรารักษาแล้ว
พระอรหันต์ทั้งหลาย ละอทินนาทานแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากอทิน-
นาทาน ถือเอาแต่ของที่เขาให้ หวังแต่ของที่เขาให้ มีตนอันไม่เป็นขโมย
เป็นผู้เป็นอยู่สะอาดตลอดชีพ
แม้เราในวันนี้ก็ละอทินนาทาน เว้นจากอทินนาทาน ถือเอาแต่ของ
ที่เขาให้ หวังแต่ของที่เขาให้ มีตนอันไม่เป็นขโมย เป็นผู้เป็นอยู่สะอาด
ตลอดคืนและวันนี้ ด้วยองค์นี้ เราชื่อว่าปฏิบัติตามพระอรหันต์ทั้งหลายอย่างหนึ่ง
และอุโบสถก็จักเป็นอันเรารักษาแล้ว
พระอรหันต์ทั้งหลาย ละอพรหมจรรย์แล้ว เป็นพรหมจารี มีความ
ประพฤติห่างไกล (จากอพรหมจรรย์) เว้นจากเมถุนอันเป็นธรรมของชาวบ้าน
ตลอดชีพ แม้เราในวันนี้ก็ละอพรหมจรรย์เป็นพรหมจารี มีความประพฤติ
ห่างไกล (จากอพรหมจรรย์) เว้นจากเมถุน อันเป็นธรรมของชาวบ้านตลอด
คืนและวันนี้ ด้วยองค์นี้ เราชื่อว่าปฏิบัติตามพระอรหันต์ทั้งหลายอย่างหนึ่ง
และอุโบสถก็จักเป็นอันเรารักษาแล้ว
พระอรหันต์ทั้งหลายละมุสาวาทแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากมุสาวาท พูด
แต่คำจริง พูดจริงเสมอ มีถ้อยคำมั่นคง เป็นที่วางใจได้ ไม่ลวงโลกตลอดชีพ
แม้เราในวันนี้ ก็ละมุสาวาท เว้นจากมุสาวาท พูดแต่คำจริง พูด
จริงเสมอ มีถ้อยคำมั่นคง เป็นที่วางใจได้ ไม่ลวงโลก ตลอดคืนและวันนี้
ด้วยองค์นี้ เราชื่อว่าปฏิบัติตามพระอรหันต์ทั้งหลายอย่างหนึ่ง และอุโบสถก็จัก
เป็นอันเรารักษาแล้ว

พระอรหันต์ทั้งหลาย ละการดื่มน้ำเมาคือสุราเมรัยอันเป็นฐานแห่ง
ความประมาทแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากการดื่มน้ำเมาตลอดชีพ แม้เราใน
วันนี้ก็ละการดื่มน้ำเมา เป็นผู้เว้นจากการดื่มน้ำเมาตลอดคืนและวันนี้
ด้วยองค์นี้ เราได้ชื่อว่าปฏิบัติตามพระอรหันต์ทั้งหลายอย่างหนึ่ง และอุโบสถก็
จักเป็นอันเรารักษาแล้ว
พระอรหันต์ทั้งหลาย บริโภคอาหารครั้งเดียว งดอาหารในราตรี เว้น
จากการบริโภคผิดเวลาตลอดชีพ แม้เราในวันนี้ก็บริโภคอาหารครั้งเดียว งด-
อาหารในราตรี เว้นจากการบริโภคผิดเวลา ตลอดคืนแต่วันนี้ ด้วยองค์นี้
เราได้ชื่อว่าปฏิบัติตามพระอรหันต์ทั้งหลายอย่างหนึ่ง และอุโบสถก็จักเป็นอัน
เรารักษาแล้ว
พระอรหันต์ทั้งหลาย เว้นขาดจากการฟ้อนรำ การขับร้อง การ
ประโคมดนตรีและดูการเล่น จากการประดับตกแต่งกายด้วยดอกไม้ ของหอม
และเครื่องทาผิว อันเป็นฐานแต่งตัวตลอดชีพ แม้เราในวันนี้ก็เว้นจากการ
ฟ้อนรำ การขับร้อง การประโคมดนตรี และดูการเล่น จากการประดับ
ตกแต่งกายด้วยดอกไม้ของหอม และเครื่องทาผิวอันเป็นฐานแต่งตัว ตลอดคืน
และวันนี้ ด้วยองค์นี้ เราได้ชื่อว่าปฏิบัติตามพระอรหันต์ทั้งหลายอย่างหนึ่ง และ
อุโบสถก็จักเป็นอันเรารักษาแล้ว
พระอรหันต์ทั้งหลาย ละที่นอนสูงที่นอนใหญ่แล้ว เป็นผู้เว้นขาด
จากที่นอนสูงที่นอนใหญ่ ใช้ที่นอนต่ำ บนเตียงบ้าง บนเครื่องลาดทำด้วยหญ้า
บ้าง ตลอดชีพ แม้เราในวันนี้ ก็ละที่นอนสูงที่นอนใหญ่แล้ว เป็นผู้เว้นจาก
ที่นอนสูงที่นอนใหญ่ ใช้ที่นอนต่ำ บนเตียงบ้าง บนเครื่องลาดทำด้วยหญ้า
บ้าง ตลอดคืนและวันนี้ ด้วยองค์นี้ เราได้ชื่อว่าปฏิบัติตามพระอรหันต์ทั้งหลาย
อย่างหนึ่ง และอุโบสถก็จักเป็นอันเรารักษาแล้ว.

วิสาขา อริยอุโบสถเป็นอย่างนี้แล อุโบสถที่รักษาอย่างนี้ย่อมมีผล
มาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก มีความแผ่ไพศาลมาก
มีผลมากเพียงไร มีอานิสงส์มากเพียงไร มีความรุ่งเรืองมากเพียงไร
มีความแผ่ไพศาลมากเพียงไร.
วิสาขา ต่างว่า ใครคนหนึ่ง จะพึงได้ครอบครองราชัยไอศวรรยา-
ธิปัตย์แห่งมหาชนบททั้ง 16 อันมีรัตนะ 7 ประการ เหลือหลายนี้ มหา-
ชนบท 16 คืออะไรบ้าง คือ อังคะ มคธะ กาสี โกสละ วัชชี มัลละ
เจตี วังสะ กุรุ ปัญจาละ มัจฉะ สุรเสนะ อัสสกะ อวันตี คันธาระ
กัมโพชะ ราชสมบัติของผู้นั้นก็หามีค่าเท่าส่วนที่ 16 แห่งอุโบสถประกอบด้วย
องค์ 8 ไม่ นั่นเพราะเหตุอะไร เพราะราชสมบัติของมนุษย์ เทียบกับทิพยสุข
เข้าแล้ว เป็นของนิดหน่อย
วิสาขา 50 ปีมนุษย์ เป็นคืนหนึ่งกับวันหนึ่งของเทวดาเหล่าจาตุ-
มหาราชิกาโดยราตรีนั้น 30 ราตรีเป็นเดือน โดยเดือนนั้น 12 เดือนเป็นปี
โดยปีนั้น 500 ปีทิพย์ เป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าจาตุมหาราชิกา ดูก่อน
วิสาขา ที่บุคคลลางคนในโลกนี้ สตรีหรือบุรุษก็ตาม รักษาอุโบสถประกอบด้วย
องค์ 8 แล้ว เพราะกายแตกตายไปจะพึงไปเกิดอยู่ร่วมกับเทวดาเหล่าจาตุ-
มหาราซิกา ที่ว่า ราชสมบัติของมนุษย์เทียบกับทิพยสุขเข้าแล้ว เป็นของนิด
หน่อย นั้นเรากล่าวหมายเอาข้อนี้แล
วิสาขา 100 ปีมนุษย์ เป็นคืนหนึ่งกับวันหนึ่งของเทวดาเหล่าดาวดึงส์
โดยราตรีนั้น 30 ราตรีเป็นเดือน โดยเดือนนั้น 12เดือนเป็นปี โดยปีนั้น 1,000
ปีทิพย์ เป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าดาวดึงส์ ดูก่อนวิสาขา ที่บุคคล
ลางคนในโลกนี้ สตรีหรือบุรุษก็ตาม รักษาอุโบสถประกอบด้วยองค์ 8 แล้ว

เพราะกายแตกตายไปจะพึงไปเกิดอยู่รวมกับเทวดาเหล่าดาวดึงส์ ที่ว่า ราช-
สมบัติของมนุษย์ เทียบกับทิพยสุขเข้าแล้ว เป็นของนิดหน่อย นั้น เรากล่าว
หมายเอาข้อนี้แล
วิสาขา 200 ปีมนุษย์ เป็นคืนหนึ่งกับวันหนึ่งของเทวดาเหล่ายามา
โดยราตรีนั้น 30 ราตรีเป็นเดือน โดยเดือนนั้น 12 เดือนเป็นปี โดยปีนั้น
2,000 ปีทิพย์ เป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่ายามา ดูก่อนวิสาขา
ที่บุคคล ฯลฯ ร่วมกับเทวดาเหล่ายามา ที่ว่า ราชสมบัติของมนุษย์ ฯลฯ
หมายเอาข้อนี้แล
วิสาขา 400 ปีมนุษย์เป็นคืนหนึ่งกับวันหนึ่งของเทวดาเหล่าดุสิต
ฯลฯ 4,000 ปีทิพย์เป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าดุสิต ดูก่อนวิสาขา
ที่บุคคล ฯลฯ ร่วมกับเทวดาเหล่าดุสิต ที่ว่า ราชสมบัติของมนุษย์ ฯลฯ
หมายเอาข้อนี้แล.
วิสาขา 800 ปีมนุษย์เป็นคืนหนึ่งกับวันหนึ่งของเทวดาเหล่านิมมา-
นรดี ฯลฯ 8,000 ปีทิพย์เป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่านิมมานรดี ดูก่อน
วิสาขา ที่บุคคล ฯลฯ ร่วมกับเทวดาเหล่านิมมานรดี ที่ว่า ราชสมบัติของ
มนุษย์ ฯลฯ หมายเอาข้อนี้แล.
วิสาขา 1,600 ปีมนุษย์ เป็นคืนหนึ่งกับวันหนึ่ง ของเทวดาเหล่า
ปรนิมมิตวสวัตดี ฯลฯ 16,000 ปีทิพย์เป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่า
ปรนิมมิตวสวัตดี ดูก่อนวิสาขา ที่บุคคล ฯลฯ ร่วมกับเทวดาเหล่าปรนิมมิต-
วสวัตดี ที่ว่าราชสมบัติของมนุษย์ ฯลฯ หมายเอาข้อนี้แล.
ไม่ฆ่าสัตว์ 1 ไม่ถือเอาของที่เจ้าของ
มิได้ให้ 1 ไม่พูดมุสา 1 ไม่ดื่มน้ำเมา 1

เว้นจากเมถุนอันมิใช่ความประพฤติดัง-
พรหม 1 ไม่บริโภคอาหารในราตรีและ
อาหารผิดเวลา 1 ไม่ประดับดอกไม้ ไม่ใช่
ของหอม 1 นอนบนเตียง (ที่ได้ประมาณ)
หรือเครื่องลาดบนพื้น 1 บัณฑิตทั้งหลาย
กล่าวอุโบสถมีองค์ 8 นี้ ซึ่งพระพุทธเจ้า
ผู้ถึงที่สุดทุกข์ทรงประกาศไว้.
พระจันทร์และพระอาทิตย์ที่น่าดูทั้ง
สอง โคจรส่องแสงไปตลอดที่มีประมาณ
เท่าใด อนึ่ง พระจันทร์และพระอาทิตย์
ขจัดมืดในอากาศส่องอยู่บนฟ้า ทำให้รุ่ง-
โรจน์ไปทั่วทิศ(ตลอดที่เพียงใด)ทรัพย์อัน
ใดมีอยู่ในระหว่าง (ที่ๆ แสงส่องถึง) นั้น
เช่นแก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์อัน
งาม ทองสิงคี ทั้งทองกาญจนะ ทองที่
เรียกว่าชาตรูปะ ทองหฏกะทรัพย์เหล่านั้น
(มีค่า) ไม่ถึงแม้ส่วนที่ 16 แห่งอุโบสถ
อันประกอบด้วยองค์ 8 ดุจหมู่ดาวทั้งหมด
(สว่าง) ไม่ถึงส่วนที่ 16 แห่งแสงจันทร์
ฉะนั้น.

เพราะเหตุนั้นแล หญิงและชายผู้มี
ศีล พึงรักษาอุโบสถอันประกอบด้วยองค์
8 ทำบุญทั้งหลายอันมีสุขเป็นผลเถิด จะ
เป็นผู้ไม่ถูกติเตียน ย่อมเข้าถึงฐานะอัน
เป็นแดนสุข.

จบอุโปสถสูตรที่ 10
จบมหาวรรคที่ 2


อรรถกถาอุโปสถสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในอุโปสถสูตรที่ 10 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ตทหุโปสเถ เท่ากับ ตสฺมึ อหุ อุโปสเถ คือ ตํทิวสํ
อุโปสเถ
แปลว่า อุโบสถในวันนั้น มีอธิบายว่า ในวันนั้น เป็นวันปัณณรสี
อุโบสถ บทว่า อุปสงฺกมติ ความว่า นางวิสาขาอธิฏฐานองค์อุโบสถแล้ว
ถือของหอมและระเบียบเป็นต้น เข้าไปเฝ้าแล้ว. บทว่า หนฺท เป็นนิบาต
ใช้ในอรรถว่าเชื้อเชิญ.1 บทว่า ทิวา ทิวสฺส ความว่า เวลาเที่ยงวันชื่อว่า
ยังวันอยู่ ได้แก่ในเวลาที่มีพระอาทิตย์ตั้งอยู่ในท่ามกลาง. บทว่า กุโต นุ ตฺวํ
อาคจฺฉสิ
ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า เธอจะไปทำอะไร.
อุโบสถที่เปรียบด้วยจ้างเลี้ยงโค เพราะมีความวิตกว่าจะไม่บริสุทธิ์
ชื่อว่า โคปาลกอุโบสถ. อุโบสถ คือการเข้าจำ ของนิครนถ์ทั้งหลาย ชื่อว่า
1. ปาฐะว่า อุปสคฺคตฺเถ ฉบับพม่าเป็น วงสฺสคฺคตฺเถ